เกี่ยวกับเรา

เกี่ยวกับโรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor)
และอาการสั่นบางชนิดของโรคพาร์กินสัน (Tremor Dominant Parkinson’s Disease)
อาการทางระบบประสาทที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor) และอาการสั่นบางชนิดของโรคพาร์กินสัน (Tremor Dominant Parkinson’s Disease) เป็นอาการทางระบบประสาทที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมอาการสั่นของอวัยวะต่างๆ เช่น มือ ศีรษะ และเสียง รวมถึงแขน ขา และลำตัวได้ ในระยะแรกอาการจะไม่รุนแรง แต่จากนั้นจะค่อยๆ พัฒนาขึ้น ในผู้ป่วยบางรายนั้นอาการสั่นจะมีความรุนแรงถึงขั้นที่ทนไม่ได้ เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทานอาหาร แต่งตัว และเขียนหนังสือ อีกทั้งยังจำกัดความเป็นอิสระในการใช้ชีวิต

เมื่ออาการของโรคมีพัฒนาการขึ้น ท้ายที่สุดแล้วผู้ป่วยบางรายจะไม่สามารถหยิบจับช้อนส้อมทานอาหารหรือยกแก้วน้ำขึ้นดื่มเองได้ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยถือเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันทั่วไปอย่างการทานอาหาร ดื่มน้ำ แต่งตัว และเขียนหนังสือจะกลายเป็นเรื่องยากไปโดยสิ้นเชิง

โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor) และอาการสั่นบางชนิดของโรคพาร์กินสัน (Tremor Dominant Parkinson’s Disease) พบได้ทั่วไปในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่ก็มีผู้ป่วยที่ตรวจพบอาการดังกล่าวตั้งแต่อายุยังน้อยคือช่วงอายุ 20 ปีและกลุ่มวัยหนุ่มสาว

หลายคนที่มีอาการสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ(Essential Tremor) และอาการสั่นบางชนิดของโรคพาร์กินสัน (Tremor Dominant Parkinson’s Disease)อาจไม่กล้าออกนอกบ้าน เก็บตัวอยู่แต่ในบ้านซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วย
 
 
สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคอาการสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (ET) ได้ที่นี่ https://cometogetherforet.com/
 
 
ทางเลือกในการรักษาทั่วไป
เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาว่า การรักษาแบบ Exablate เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับคุณหรือไม่ และแพทย์เจ้าของไข้ต้องทำการส่งตัวผู้ป่วยไปรับคำปรึกษาจากแพทย์ที่ผ่านการอบรมด้านการรักษาแบบ Exablate รวมถึงแพทย์ที่ทำการรักษาด้วยวิธีอื่น  ซึ่งจะทำให้คุณสามารถพูดคุยเกี่ยวกับทางเลือกทั้งหมดที่มีอยู่และตัดสินใจว่าแนวทางใดที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด
  การรักษาด้วยยา

อาการของโรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุบางครั้งอาจระงับได้ด้วยยา การรักษาด้วยยาธรรมดา ได้แก่
  • ยาโพรพราโนลอล (Propranolol) : ส่วนใหญ่ใช้เพื่อลดความดันโลหิต
  • ยาไพรมิโดน (Primidone) : ยาควบคุมอาการชัก
  • อาจใช้ยาระงับอาการวิตกกังวลในผู้ป่วยบางรายได้

  การผ่าตัด

หากโรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor) และอาการสั่นบางชนิดของโรคพาร์กินสัน (Tremor Dominant Parkinson’s Disease) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา อาจเลือกใช้วิธีการผ่าตัดสมอง โดยทั่วไปการรักษาด้วยการผ่าตัดมี 2 ประเภทคือ การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (DBS) หรือการผ่าตัดสมองส่วนทาลามัส ทั้งการผ่าตัดสมองส่วนทาลามัสและการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึกต้องมีการกรีดเปิดหนังศีรษะ เจาะกะโหลก เปิดเยื้อหุ้มสมอง และตรวจตำแหน่งเป้าหมายภายในสมองส่วนลึก ศัลยแพทย์ต้องมีทักษะและความเชี่ยวชาญสูงและต้องผ่าตัดความระมัดระวังเป็นอย่างมากเพื่อไม่ให้เนื้อสมองส่วนดีถูกทำลายขณะทำการผ่าตัดดังกล่าว

  • การผ่าตัดสมองส่วนทาลามัส
    การผ่าตัดสมองส่วนทาลามัสเป็นการผ่าตัดที่มุ่งไปที่สมองส่วนทาลามัส  ศัลยแพทย์ระบบประสาทจะทำการผ่าตัดโดยมุ่งไปส่วนลึกของกลางสมองเพื่อตัดทำลายระบบประสาทภายในส่วนต่อมทาลามัส และขัดขวางวงจรการทำงานในสมอง ทั้งนี้แพทย์อาจเลือกใช้วิธีที่แตกต่างกันออกไปในการทำลายเซลล์สมองส่วนที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวซึ่งรวมถึงการใช้คลื่นวิทยุและการฉายรังสี

  • การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (DBS)
    สำหรับ DBS เป็นการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าไปกระตุ้นสมองส่วนเฉพาะที่ก่อให้เกิดอาการสั่น ขั้วไฟฟ้าเหล่านี้จะเชื่อมต่อด้วยสายไฟลงมายังบริเวณลำคอของผู้ป่วย ซึ่งจะต่อเข้ากับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่ฝังอยู่บริเวณหน้าอก เมื่อเปิดเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า จะมีสนามไฟฟ้าที่ไปขัดขวางการทำงานของวงจรที่ทำให้เกิดโรค แพทย์สามารถปรับสนามไฟฟ้าดังกล่าวให้เหมาะสมได้หลังการฝังขั้วไฟฟ้าไปแล้วโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดใหม่ อย่างไรก็ดีต้องมีการปรับตำแหน่งเป็นครั้งคราวเพื่อให้ใกล้เคียงกับบริเวณเป้าหมายมากที่สุดโดยการดันขั้วไฟฟ้าลึกเข้าไปในเนื้อสมองที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งใหม่ และอาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า  ในกรณีที่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน
 
  ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการผ่าตัด

  • เนื้อสมองส่วนที่ดีอาจถูกทำลายได้เนื่องจากการสอดเครื่องมือตรวจ เช่น มีอาการตกเลือด
  • หากสอดเครื่องมือไม่ถูกต้อง ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางประสาทได้ เช่น อาการชาหรือปัญหาการทรงตัว
  • อาจจำเป็นต้องผ่าตัดปรับตำแหน่งเครื่องมือในสมองใหม่หากอยู่ห่างจากจุดเป้าหมายมากเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เนื้อสมองถูกทำลายมากขึ้น
  • ความเสี่ยงจากการผ่าตัดที่เกิดจากการเจาะกะโหลก การกรีดผ่า เป็นต้น
  • การผ่าตัดสมองและระบบประสาทลักษณะนี้มีความเสี่ยงจากภาวะสมองขาดเลือด ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง พูดลำบาก หรือมีปัญหาทางการมองเห็น
  • การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ซึ่งอาจมีผลกระทบร้ายแรงตามมา
  • ความเสียหายของเนื้อสมองรอบๆ ที่เกิดจากการสอดเครื่องมือเข้าไป
  • ภาวะเลือดออกในเนื้อสมองอาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการผ่าตัดซึ่งเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่ฝังหรือวิธีการที่ใช้
  • การทรงตัวและการพูดอาจย่ำแย่ลงหลังได้รับการผ่าตัดเมื่อเปิดใช้งานขั้วไฟฟ้าที่ฝังเข้าไป [DBS]
  • ความเสี่ยงอื่นที่ไม่รุนแรง ได้แก่ อาการชา อาการเหน็บ ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง อัมพฤกษ์ หรืออาการสั่นที่เพิ่มมากขึ้น

  การรักษาด้วยวิธี Exablate

เป็นทางเลือกของผู้ป่วยโรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor) และอาการสั่นบางชนิดของโรคพาร์กินสัน (Tremor Dominant Parkinson’s Disease) ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือในผู้ป่วยที่ไม่ประสงค์จะเข้ารับการผ่าตัดผังอุปกรณ์ไว้ภายในร่างกาย

Exablate  เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor) และอาการสั่นบางชนิดของโรคพาร์กินสัน (Tremor Dominant Parkinson’s Disease)โดยไม่มีบาดแผลใดๆ โดยใช้วิธีการรวมศูนย์ของคลื่นเสียงร่วมกับการนำทางคลื่นเสียงด้วยเครื่อง MRI แพทย์สามารถกำหนดเป้าหมายและรักษาสมองส่วนที่ทำให้เกิดอาการสั่นได้อย่างแม่นยำ  หลังการรักษาอาการสั่นจะหายหรือลดลงอย่างเห็นได้ชัดและสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติภายใน 1 วัน  ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้มากกว่า  5,000 รายตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วโลก
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้